วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

สัตตศิลา 7 ประการ

สัตตศิลา "หลักเจ็ดประการสำหรับการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้"

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินโครงการวิจัยบูรณาการการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประเภทโครงการวิจัยบูรณาการ ประจำปี 2548 ซึ่งดำเนินการวิจัยใช้นวัตกรรม “สัตตศิลา” ในการเปลี่ยนผ่านการศึกษา โดยมีสาระตามหลักสัตตศิลา ดังนี้
หลักที่ 1 : คุณลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนหรือเรียกสั้น ๆ ว่า คุณลักษณะ 4 ร ซึ่งได้แก่
ร 1 : รู้ทันรู้นำโลก
1.1 ทักษะการแสวงหาความรู้
1.2 ทักษะการใช้และจัดการความรู้
1.3 ทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.4 ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหา
1.5 ทักษะทางภาษาและการสื่อสาร
ร 2 : เรียนรู้ชำนาญเชี่ยวชาญปฏิบัติ
2.1 การคิดใหม่ คิดสร้างสรรค์ คิดแจ้งแทงตลอด
2.2 จิตมุ่งคุณภาพมาตรฐาน และความเป็นเลิศ
ร 3 : รวมพลังสร้างสรรค์สังคม
3.1 การทำงานแบบร่วมมือ เป็นทีม และสร้างเครือข่าย
3.2 ความสามารถในการจัดการ
3.3 การแข่งขัน/อดทน/สู่สิ่งยาก
3.4 การเห็นแก่ส่วนรวม เป็นธรรมและยั่งยืน
ร 4 : รักษ์วัฒนธรรมไทย ใฝ่สันติ
4.1 มีความรักและภูมิใจในความเป็นไทย รักความสงบสันติ
หลักที่ 2 : การพัฒนาสู่การปฎิบัติที่เป็นเลิศ (Bench Marking) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ หรือมาตรฐานได้ โดยยึดองค์กรที่มีการปฏิบัติงานได้มาตรฐานหรือมีความเป็นเลิศ เป็นตัวอย่างหรือเป็นจุดอ้างอิงเพื่อเทียบเคียง
หลักที่ 3 : การบริหารจัดการแบบบูรณาการ (iBMS) เป็นระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ (integrated educational management system, iEMS) เป็นชุดขององค์ประกอบของการจัดการที่เชื่อมประสานปัจจัยรอบด้าน กระบวนการที่มีกลยุทธ์อันนำไปสู่ผลลัพธ์เข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
หลักที่ 4 : 4 F การจัดหลักสูตรที่พัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลซึ่งมีศักยภาพแตกต่างกัน ตามความถนัด ความสนใจ และความชอบของผู้เรียนแต่ละคน หรือเรียกว่า หลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน (4F) โดยยึดหลัก FUN Find Focus และ Fullfillment
หลักที่ 5 : CRP – Plus การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีรูปแบบการสอนแบบ CRP ที่เหมาะสมกับรายวิชาที่มีลักษณะของรายวิชาและจุดประสงค์แตกต่างกัน ซึ่งได้แก่รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก (C) รูปแบบการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน( R ) และรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ (P)
หลักที่ 6 : NET การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ ซึ่งเป็นทักษะการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีขั้นตอนการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศคือการกำหนดภารกิจ การตรงจุดเข้าถึงแหล่ง การประเมินสารสนเทศ และการบูรณาการวิถีการใช้งาน
หลักที่ 7 : 3 M บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ผู้เกี่ยวข้องในการสร้างโอกาสการเรียนรู้มีทั้งครู โรงเรียน ครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชน ซึ่งมี 3 บทบาท ได้แก่ M1 : บทบาทของผู้ให้กำลังใจ ( Moral Supporter ) M2 : บทบาทผู้ใส่ใจกำกับ (Monitor) และ M3 : บทบาทของผู้สนับสนุนส่งเสริม (Mentor)
จากหลักสัตตศิลา ทั้ง 7 หลัก มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณลักษณะผู้เรียนที่เป็นหัวใจและเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายตามคุณลักษณะที่ต้องการ โดยระบบการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนองค์ประกอบต่าง ๆ อันได้แก่ หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ชุมชนหรือผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ให้ดำเนินการไปอย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552


หนุ่ม - สาว ชาวธุรการ

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

หน้ากากอนามัยป้องกันไข้หวัด 2009

สถานการณ์เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 กำลังระบาดอย่างต่อเนื่อง คร่าชีวิตผู้คนไปหลายร้อยคนทั่วโลก อย่างในประเทศไทยเอง ก็ถือว่าอยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเช่นกัน เพราะประเทศเรามีอัตราการติดเชื้อมากที่สุดในเอเชียและสูงเป็นอันดับที่ 6 ของโลก
ที่ผ่านมา หลายคนคาดการณ์ว่าไข้หวัดใหญ่ 2009 จะยังวนเวียนอยู่ในบ้านเราไปนานอีก 2-3 ปี และถ้าเราไม่เร่งควบคุม ไม่แน่ไข้หวัดร้ายชนิดนี้อาจจะคร่าชีวิตประชากรอีกเป็นพันๆ คนได้
เพราะฉะนั้น ทุกวันนี้ทุกฝ่ายจึงเริ่มตื่นตัวมากขึ้น ทั้งภาครัฐเอกชนต่างก็เร่งทางรณรงค์เป็นการใหญ่ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อหวัดระบาดมากไปกว่านี้ ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ตอนนี้ ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็จะเห็นผู้คนใส่หน้ากากเต็มไปหมดกลายเป็นแฟชั่นสุดฮิตของบรรดาเด็กวัยรุ่นและคนทำงาน
ล่าสุด กระแสแฟชั่นผ้าปิดปากนั้นเริ่มฉุดไม่อยู่ เพราะผ้าปิดปากยุคใหม่เริ่มมีลวดลายมากขึ้น ทั้งรูปการ์ตูน ดอกไม้สีสันที่แปลกตา จนเดี๋ยวนี้ธุรกิจแฟชั่นหน้ากาก!! ก็เริ่มคึกคักขึ้นทันตา
เท่านั้นยังไม่พอ ทางกระทรวงสาธารณสุข เจ้าเก่า วิทยา แก้วภราดัย ได้จัดประกวดการออกแบบหน้ากากอนามัย ใส่ใจสุขภาพ (The Mask of Hero : Do it Your Self)เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนหันมาทำหน้ากากอนามัยแบบผ้าใช้เอง และสร้างกระแสให้คนไทยยกย่องคนที่สวมหน้ากากอนามัยเมื่อป่วยว่า เป็นฮีโร่ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
ซึ่งทุกคนสามารถส่งแบบภาพหน้ากากอนามัยได้ที่ themaskofhero@hotmail.com ถึงวันที่ 14 สิงหาคม ประกาศผลรอบสุดท้ายวันที่ 21 สิงหาคม 2552 นี้
ส่วนวันนี้ ทีมคลิกจะขอพาทุกท่านไปสัมผัสกับกระแสแฟชั่นฮิตว่า ตอนนี้ธุรกิจขายหน้ากากบูมขนาดไหน แล้วบรรดาผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เชิญติดตาม
หน้ากากอนามัย ในตลาดคึกคัก
บรรดาพ่อค้า แม่ค้า ย่านท่าพระจันทร์ อนุสาวรีย์ สยาม จตุจักร ฯลฯ มีการวางขายหน้ากากอยู่หลายร้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านที่ขายของกิฟต์ชอป ถ้าหน้ากากลายสวยๆ น่ารักๆ จะวางหรือห้อยตามแผงขายกิฟต์ชอป ก็ยิ่งทำให้เพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น นอกจากจะมีการวางขายในร้านกิ๊ฟต์ช็อป แม่ค้า พ่อค้าบางคนก็เลือกที่จะเอาหน้ากากสีสันสวยใส่ตะกร้า พร้อมสายสะพายคอ เดินเร่ขายไปในตลาด
ธงไชย บุณเนตร หนุ่มใหญ่ วัย 38 ปี ที่ไปรับหน้ากากมาจากสำเพ็ง เขาบอกว่า ตอนแรกก็ขายพวกกิฟต์ชอปอยู่ แต่พอเห็นหวัดใหญ่ 2009 กำลังมาแรง และผ้าปิดจมูกก็เป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยป้องกันการแพร่เชื่อได้ ก็เลยเอามาวางขายผืนละ 10 บาท
“บางทีก็หมดก่อน จึงต้องโทร.สั่งสินค้า เพราะตอนนี้เป็นที่ต้องการของตลาดมาก ของผมไม่เน้นลวดลาย มีสีขาว ฟ้า ชมพู ซึ่งส่วนใหญ่คนที่มาซื้อจะมีทุกวัยเลยและไม่ได้เป็นหวัด มีอยู่รายหนึ่งบอกผมว่า ไม่ได้เป็นหวัดหรอก แต่ซื้อไปป้องกัน เพราะเขาไม่รู้ว่าใครจะเป็นหวัดบ้าง เลยต้องป้องกันไว้ก่อน วันหนึ่งๆ ขายได้ 200-300 ผืน ซึ่งก็ถือว่าขายดีมาก”
โมเม เจ้าของร้านขายนาฬิกา วัย 22 ปี บอกว่า แต่ก่อนก็ไม่ได้ขายหน้ากาก แต่พอมีหวัดระบาดและเห็นว่าผ้าปิดจมูกมีส่วนช่วยในการป้องกันการแพร่ระบาด ที่สำคัญบางคนก็ไม่ได้เป็นหวัด แต่เขาต้องการป้องกัน พอใส่แล้วผ้าปิดจมูกมันก็มาอยู่ตรงหน้าเรา จึงคิดว่าถ้ามีลวดลายสวยน่ารัก พวกวัยรุ่น เด็กเล็กๆ ต้องชอบแน่ๆ เลยหันมาคิดแบบผ้าปิดจมูกที่มีสีสัน ไม่ว่าจะเป็นชมพู ส้ม แดง ฟ้า พร้อมตัวการ์ตูนน่าจะขายดี ซึ่งมันก็เป็นความจริง เพราะที่ขายมาวันหนึ่งๆ ขายได้ ถึง 500 ผืน ซึ่งถือว่าขายดีมาก
สอดคล้องกับ ชุติมา แสนทวีสุข ผู้ผลิตผ้าปิดปากแฟนซี และเจ้าของร้าน ‘ร้านอะไร’ ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น บอกกับทีมงานว่า ขณะนี้มียอดสั่งซื้อหน้ากากา แบบที่มีลวดลายจากลูกค้ารายย่อยในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ เพิ่มเป็นจำนวนมาก ยอดสั่งวันหนึ่งๆ ถึง 40-50 โหล จนผลิตแทบไม่ทัน ลูกค้ากระหน่ำโทร.มาสั่งซื้อผ้าปิดปากตั้งแต่ 6 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน จนเบอร์โทรศัพท์เจ๊งไปเบอร์หนึ่ง ช่วงนี้ถึงขนาดต้องปิดร้านเพื่อทำหน้ากากอนามัยเลยทีเดียว ต่างกับตอนที่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ 2009 ยังไม่แพร่ระบาดเข้ามาในเมืองไทย ที่ขายไม่ดีเลย นานๆ จึงจะมีลูกค้าสั่งซื้อ
“ยอดผลิตเพิ่มขึ้นจากตอนที่ไข้หวัดใหญ่ 2009 ยังไม่แพร่ระบาดหลายเท่าตัว ทำให้ราคาผ้าที่นำมาผลิตถีบตัวสูงขึ้นตาม บางทีผ้าที่รับมาจากโรงงานเกิดขาดตลาด เราจึงตระเวนรับซื้อจากแม่ค้ารายเล็กๆ และต้นทุนในการผลิตก็สูงขึ้นด้วย” เธอตัดพ้อเล็กน้อย เพราะหน้ากากอนามัยที่ชุติมาทำเป็นแบบแฮนด์เมด ไม่ได้ผลิตในโรงงานใหญ่โตอะไร พร้อมเล่าที่มาที่ไปของหน้ากากอนามัยแฟนซี
“อีกอย่างร้านเราขายสินค้าเด็กอยู่แล้ว ไม่ได้ขายหน้ากากอนามัยอย่างเดียว มีอยู่ครั้งหนึ่งได้ไปเห็นตอนที่เด็กเล็กๆ เป็นไข้หวัด แล้วไม่ยอมสวมหน้ากากอนามัยธรรมดา จึงคิดหาวิธีให้เขายอมใส่ คิดไปคิดมา เลยค้นพบว่าน่าจะเพิ่มลวดลายการ์ตูนน่ารักๆ และสีสันต่างๆ ลงบนหน้ากากเพื่อเอาใจเด็กๆ ปรากฏว่าเด็กชอบ เราจึงผลิตเรื่อยมา”
ชุติมาบอกเราว่า ต้นทุนผลิตหน้ากากตกอยู่ประมาณ 20 กว่าบาทต่อชิ้น สูงกว่าหน้ากากอนามัยธรรมดา เพราะต้องมีการพิมพ์ลวดลาย ในวันข้างหน้า แม้จะผ่านพ้นช่วงระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ไปแล้ว เจ้าของร้าน ร้านอะไร เชื่อว่า หน้ากากอนามัยแฟนซีจะยังได้รับความนิยมจากผู้ใช้อยู่ ไม่เลือนหายไปตามกระแส
ขณะที่ อ้อม เจ้าของร้านกิฟต์ชอปที่หันมาขายผ้าปิดจมูกด้วย โดยออกแบบลายเอง บอกว่าทำมาขายไม่นาน ซึ่งก็มีส่วนหนึ่งรับมา ขายผืนละ 30 บาท ส่วนแบบที่ทำเองก็จะซื้อแค่ผ้าปิดจมูกมาเป็นสีๆ แล้วเอาตัวการ์ตูน หมีแพนด้า คิตตี้ มาติด ผืนละ 25 บาท
“มีความคิดที่จะทำขาย เพราะว่าไปเจอผ้าปิดจมูกที่สยาม แต่ราคาแพงมาก 50 ถึง 100 ซึ่งต้องยอมรับว่ามันมีสีสันสวยและน่ารักมาก อ้อมจึงเอามาดัดแปลงแปลงและทำขายเองในราคาที่ไม่แพงมาก”
อ้อมบอกอีกว่า สาเหตุอีกข้อที่ทำออกมาขายเพราะเธออยู่ในแหล่งชุมชน มีคนพลุกพล่านตลอดเวลา ขายของก็ต้องเจอคนเยอะ เอามาขายจะได้ใส่เองและป้องกันการแพร่เชื้อด้วย
“แต่ก่อนทางโรงพยาบาลอาจจะแจกผ้าปิดปากให้ประชาชน แต่นั่นพอใส่ได้หนสองหนก็ต้องทิ้ง เพราะมันซักไม่ได้ แต่ของอ้อมที่ทำขึ้นมาสามารถซักทำความสะอาดได้ และที่เด็ดไปกว่าร้านอื่นคือ อ้อมใส่คำแนะนำ การป้องกันหวัด 2009 ไว้ด้านหลังของผ้าปิดจมูก ซึ่งมันน่าจะสามารถช่วยเหลือลูกค้าให้หันมาระวังสุขภาพ และหากใครเป็นหวัดก็ควรรีบไปหาหมอและใส่หน้ากากป้องกันการแพร่เชื้อ”
แฟชั่นหน้ากากมาแว้ว!!!
ส่วนความนิยมของแฟชั่นหน้ากากของหนุ่มสาววัยทีนย่านสยามสแควร์ จะเท่หรือเก๋ อินเทรนด์ขนาดไหนนั้น ทีมคลิกได้ไปเดินสำรวจ และพบกับพนักงานสาวออฟฟิศ คณิตา ยิ้มหนองเต่า เธอโชว์หน้ากากอนามัยลวดลายแมวเหมียวให้เราดู
“จริงๆ ใช้ทั้งหน้ากากอนามัยธรรมดาและหน้ากากอนามัยที่มีลวดลายค่ะ เลือกแบบนี้เพราะเป็นลายการ์ตูนน่ารักดี แถมเป็นผ้าสามารถซักได้ด้วย”
เดินไปสักพัก เห็นลวดลายการ์ตูนบนหน้ากากอนามัยของ วิลาสินี เสถียรภาพงษ์ พนักงานบริษัทแห่งหนึ่ง มันช่างเด่นสะดุดตาเสียจริง
“อยากเปลี่ยนรูปแบบเดิมๆ ของหน้ากากอนามัยให้สดชื่นสดใสขึ้นค่ะ ใส่แบบธรรมดาไม่มีลวดลายอะไรก็เหมือนคนอื่นสิค่ะ ขอแตกต่างนิดหนึ่ง” พูดจบเธอขอตัวไปซื้อหน้ากากอนามัยเพื่อนำไปฝากเพื่อนที่ทำงาน
นอกจากนี้ ทีมงานยังพบกับหน้ากากสีแจ่มๆ บนใบหน้าของ กานติมา มัชฉากิจ นักศึกษาสาว ที่เดินอวดหน้ากากอนามัยที่เต็มไปด้วยดวงดาวสีสัน สดใส รับกับบุคลิกสดใส ร่าเริงของเธอ
“มีหน้ากากอนามัยสีขาวธรรมดาๆ อยู่อันหนึ่งแล้วค่ะ อยากเปลี่ยนอะไรใหม่ๆ มั่ง ขอเป็นหน้ากากอนามัยที่น่ารักๆ แบบแฟชั่นหน่อยละกันเนอะ จะได้แมตช์กับชุดและกระโปรง” เธอพูดพลางยิ้ม
หน้ากากของคุณเป็นแบบไหน?
เห็นว่ากระทรวงสาธารณะสุข เขาจัดออกแบบผ้าปิดจมูกกัน ทีมคลิกเลยอยากรู้ว่า คนในวงการดารา พิธีกร แพทย์ เขาอยากให้หน้ากากตัวเองออกมาเป็นแบบไหน
เริ่มที่สาวร่างเล็ก สมาชิกแก๊งคสามช่า ตุ๊กกี้ สามช่า-สุดารัตน์ บุตรพรหม ตลกหญิงชื่อดัง เธอบอกว่า หน้ากากของเธอต้องเป็นหน้ากากสีขาว ตรงกลางเป็นรูปมือทำท่าสวัสดี สีเนื้อ เพราะเหมือนเป็นการทักทายสวัสดีกัน
“เวลาที่ตุ๊กกี้ปิดจมูกก็ไม่มีใครเห็นหน้าตุ๊กกี้ แต่ถ้าใส่หน้ากากรูปมือสวัสดีก็เป็นการทักทายคนอื่นไปในตัวด้วยเลย แต่ถ้าไม่มีหน้ากากรูปมือสวัสดี ก็ขอเป็นอักษรที่เขียนว่า สวัสดี ก็ได้คะ”
ด้าน คมสัน นันทจิต นักเขียน พิธีกร บอกว่า หากเป็นไข้หวัด คงใส่หน้ากากแบบธรรมดาที่มีขายทั่วไป ที่เป็นสีขาว สีฟ้า แต่จะไม่ใส่หน้ากากที่เป็นแปลกประหลาดหรือเป็นแฟชั่น เพราะทำให้เขารู้สึกเหมือนมีคนสนใจและมองตลอดเวลา ที่สำคัญความรู้สึกอายก็จะตามมาด้วย
ขณะที่ ดร.อโณทัย คล้ามไพบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และคู่ชีวิตของ องอาจ คล้ามไพบูลย์ แบ่งปันไอเดียในการออกแบบหน้ากากอนามัย
“หน้ากากอนามัยลายดอกปีบค่ะ เพราะแสดงถึงความเป็นไทยได้ดี ดอกปีบสีขาว เนื้อผ้าของหน้ากากสีชมพูหวานแหววเลยค่ะ ผู้หญิงน่าจะชอบ ใส่แล้วสวย และเด่นสะดุดตาด้วย”
คงเดาได้อย่างไม่ยากเย็นนักว่า ไอเดียออกแบบหน้ากากอนามัยของผู้บริหารอารมณ์ดี ธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานพาณิชย์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค จะออกมาเป็นอย่างไร
“ขอเป็นหน้ากากอนามัยที่มีรูปรอยยิ้มสีแดงที่หลายๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันดี ตัวผ้าเป็นสีขาวครับ สาเหตุที่เลือกออกแบบเป็นรูปรอยยิ้มเพราะเวลาใส่ไปไหนมาไหนคนที่เห็นจะชื่นชอบ ยิ้มร่าเริง สร้างสีสันให้ทั้งผู้ใส่และผู้พบเห็นได้”
ทายกันเล่นๆ สิว่า หน้ากากอนามัยไอเดีย ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าสาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาคาร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักออกแบบและหุ้นส่วนแบรนด์ Osisu จะบรรเจิดขนาดไหน
“ผมว่าลองเอาเสื้อผ้าที่ไม่ใช้แล้วของแต่ละคนมาตัดเย็บเป็นหน้ากากอนามัยดู น่าจะเข้าท่า เพราะทุกคนคุ้นเคยกับมันอยู่แล้ว ยิ่งช่วงที่หน้ากากอนามัยขาดตลาดด้วยแล้ว ไอเดียนี้น่าจะเวิร์ก ลองนึกภาพตามได้เลยครับ ที่หน้ากากอนามัยของแต่ละคนจะมีลวดลายและสีสันต่างกันไป แต่น่าจะกำหนดสีของหน้ากากไว้นะ คนเป็นหวัดใส่หน้ากากสีนี้ คนไม่เป็นใส่อีกสี และทุกคนต้องมีจิตสำนึก เคารพกติกา เลือกสีหน้ากากให้ตรงกับสภาพร่างกายที่แท้จริงของตัวเอง ไม่ลักไก่”
สวมหน้ากากถูกวิธี ทำอย่างไร?
นพ.สมชัย นิจพานิช รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ออกมาแนะว่า เบื้องแรกควรจัดผ้าปิดให้อยู่บริเวณตั้งแต่จมูกจนถึงคาง พยายามให้เนื้อผ้าแนบสนิทกับจมูกมากที่สุด แต่อย่าดึงสายรัดให้แน่นเกินไปจนหายใจไม่สะดวก และอย่าให้มือไปสัมผัสกับเนื้อผ้าบริเวณด้านในที่ติดกับจมูกและปาก เพราะอาจเป็นช่องทางที่นำพาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายก็ได้ จำไว้ให้ดีว่าหน้ากากอนามัยแบบกระดาษควรเปลี่ยนวันละครั้ง ส่วนหน้ากากอนามัยแบบผ้าสามารถซักทำความสะอาด ผึ่งแดดแล้วนำมาใช้ใหม่ได้

บุคลากรฝ่ายธุรการ

สิบเอกสุธนธ์ ธนะภูมิชัย
..หัวหน้างานธุรการ..








างภุมรินทร์ ดีประดับ

..เจ้าหน้าที่บัญชี..














นางปัทมา นิลตา

..เจ้าหน้าที่ธุรการ..











นางสาวรัชดา พินิจกุล

..เจ้าหน้าที่ธุรการ..











พลฯ จินดา อินทรษร
..พลทหารประจำฝ่ายธุรการ..

วันออกพรรษา


วันออกพรรษา


ความสำคัญวันออกพรรษา ได้แก่ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษา คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ในวันนี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรม ซึ่งเรียกว่า วันมหาปวารณา คือ การเปิดโอกาสให้ภิกษุด้วยกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ทั้งนี้เพราะในระหว่างพรรษานั้น พระสงฆ์บางองค์อาจมีข้อบกพร่องที่จำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ เป็นวิธีที่จะรู้ถึงข้อบกพร่องของตน ทั้งนี้กระทำโดยเปิดเผย ไม่ถือเป็นเรื่องที่จะมาโกรธเคืองกันภายหลัง หรือเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกัน การกระทำมหาปวารณา เป็นการสังฆกรรมอย่างหนึ่งแทนการสวดพระปาฏิโมกข์ (พระวินัย) ที่ได้กระทำกันทุกๆ ๑๕ วันในช่วงเข้าพรรษา

การปฏิบัติตน แม้การปวารณาจะเป็นเรื่องระหว่างพระสงฆ์ด้วยกัน แต่การออกพรรษาก็เป็นวาระสำคัญอีกวาระหนึ่งที่ชาวบ้านจะได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน โดยในวันรุ่งขึ้น คือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ มีประเพณีทำบุญตักบาตร ที่เรียกกันว่า ทำบุญตักบาตรเทโว หรือเรียกเต็มๆ ว่า ตักบาตรเมโวโรหนะ สืบเนื่องจากความเชื่อตามตำนานที่ว่าวันนี้เป็นวันคล้าย วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกหลังจากที่ได้เสด็จกลับจากการไปโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์บางวัดอาจจัดพิธีทำบุญตักบาตรธรรมดา แต่บางวัดก็จัดเป็นงานใหญ่โต เสร็จจากการทำบุญตักบาตร พุทธศาสนิกชนจะไปฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีล

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา
๑.ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับ ๒.ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ๓.ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว" ๔.ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ และประดับธงชาติและธงธรรมจักตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวันออกพรรษาที่นิยมปฏิบัติ คือ

ประเพณีตักบาตรเทโว การตักบาตรเทโว จะกระทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือหลังออกพรรษาแล้ว 1 วัน ประวัติความเป็นมาของประเพณีการตักบาตรเทโว ในสมัยพุทธกาล เมื่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมและเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้ว พระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนคร การที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จลงมาจากชั้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ"ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อ
รับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

พิธีทอดกฐิน ประวัติการทอดกฐิน ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระเชตวนาราม ซึ่งเป็นพระอารามที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ 30 รูป ชาวเมืองปาฐา ซึ่งอยู่ด้านทิศตะวันตกในแคว้นโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ที่เมืองสาวัตถี แต่มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่างจากเมืองสาวัตถีราว 6 โยชน์ ภิกษุทั้ง 30 รูป ล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์และต่างมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะได้เฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางไปยังเมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอแม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้องฝ่าแดดกรำฝน ลุยฝน อย่างไรก็ไม่ย่อท้อ เมื่อภิกษุทั้ง 30 รูป ได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้นพระองค์ตรัสรู้ถามจึงได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถา ภิกษุเหล่านั้นก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ผลในลำดับนั้น พระบรมศาสดาดำริถึงความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้น จึงเรียกประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ สำหรับในเมืองได้ผ่านวันออกพรรษาแล้ว นางวิสาขาได้ทราบพุทธานุญาตและได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก

พิธีทอดผ้าป่า ประวัติความเป็นมา ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่นผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าที่ห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบง หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากหรือเป็นงานใหญ่ ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องพิธีทอดกฐิน ครั้นชาวบ้านทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์ต้องการนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่างๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบ ก็นำเอามาทำเป็นสบง จีวร พิธีการทอดผ้าก็มีความเป็นมาด้วยประการฉะนี้ สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา

ประเพณีงานเทศน์มหาชาติ ประเพณีการเทศน์มหาชาติจัดเป็นการทำบุญที่สำคัญและมีความหมายที่สุดในสังคมไทย เนื่องจากเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ทำสืบเนื่องมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันเพราะความเชื่อว่าถ้าผู้ใดได้ฟังเทศน์มหาชาติแล้วจะได้กุศลแรง และหากใครตั้งใจฟังให้จบใน วันเดียวจะได้เกิดร่วมและพบพระศรีอริยเมตตรัยโพธิสัตว์ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ในพระราชสำนัก ปรากฏเป็นราชพิธีในวังหลวงมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว ในสมัยอยุธยาพระมหากษัตริย์ถึงกับทรงโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งทรงธรรม ด้วยพระราชประสงค์ให้เป็นที่ทรงธรรมในงานพระราชพิธีเทศน์มหาชาติ พระราชพิธีนี้สืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์เทศนาคราวหนึ่ง แม้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งที่ทรงดำรงอยู่ในสมณเพศก็ทรงหัดเทศน์กัณฑ์มัทรี จนกลายเป็นธรรมเนียมให้พระราชโอรสถวายเทศน์มหาชาติในวังหลวง ในท้องถิ่น โดยเฉพาะในเขตภาคอีสานถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่สำคัญที่สุดของปีจะจัดขึ้นในราวเดือน 4 เรียกว่า บุญพระเวส ทั้งยังมีประเพณีเกี่ยวเนื่องกับเทศกาลนี้ด้วย เช่น พิธีแห่พระเวสเข้าเมืองและพิธีแห่ข้าวพันก้อนเพื่อบูชาคาถาพัน ทางภาคเหนือ ก็ให้ ความสำคัญกับการเทศน์มหาชาติมาก เห็นได้จากมีประเพณีสร้างหลาบเงินหรือแผ่นเงินแกะลาย แขวนห้อยรอบฉัตร ถวายเป็นเครื่องขันธ์ตั้งธรรมหลวงในงาน ทางภาคใต้นั้นประเพณีเทศน์มหาชาติได้ คลี่คลายไป เป็นประเพณีสวดด้านซึ่งคล้ายคลึงกับการสวดโอ้เอ้วิหารรายอย่างกรุงเทพฯ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ทักทาย

สวัสดี..ชาวบูรณวิทยา..ทุกคน <<_>>