คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินโครงการวิจัยบูรณาการการเปลี่ยนผ่านการศึกษาเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประเภทโครงการวิจัยบูรณาการ ประจำปี 2548 ซึ่งดำเนินการวิจัยใช้นวัตกรรม “สัตตศิลา” ในการเปลี่ยนผ่านการศึกษา โดยมีสาระตามหลักสัตตศิลา ดังนี้
หลักที่ 1 : คุณลักษณะผู้เรียนที่พึงประสงค์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนหรือเรียกสั้น ๆ ว่า คุณลักษณะ 4 ร ซึ่งได้แก่
ร 1 : รู้ทันรู้นำโลก
1.1 ทักษะการแสวงหาความรู้
1.2 ทักษะการใช้และจัดการความรู้
1.3 ทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.4 ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหา
1.5 ทักษะทางภาษาและการสื่อสาร
ร 2 : เรียนรู้ชำนาญเชี่ยวชาญปฏิบัติ
2.1 การคิดใหม่ คิดสร้างสรรค์ คิดแจ้งแทงตลอด
2.2 จิตมุ่งคุณภาพมาตรฐาน และความเป็นเลิศ
ร 3 : รวมพลังสร้างสรรค์สังคม
3.2 ความสามารถในการจัดการ
3.3 การแข่งขัน/อดทน/สู่สิ่งยาก
3.4 การเห็นแก่ส่วนรวม เป็นธรรมและยั่งยืน
ร 4 : รักษ์วัฒนธรรมไทย ใฝ่สันติ
4.1 มีความรักและภูมิใจในความเป็นไทย รักความสงบสันติ
หลักที่ 2 : การพัฒนาสู่การปฎิบัติที่เป็นเลิศ (Bench Marking) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ หรือมาตรฐานได้ โดยยึดองค์กรที่มีการปฏิบัติงานได้มาตรฐานหรือมีความเป็นเลิศ เป็นตัวอย่างหรือเป็นจุดอ้างอิงเพื่อเทียบเคียง
หลักที่ 3 : การบริหารจัดการแบบบูรณาการ (iBMS) เป็นระบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ (integrated educational management system, iEMS) เป็นชุดขององค์ประกอบของการจัดการที่เชื่อมประสานปัจจัยรอบด้าน กระบวนการที่มีกลยุทธ์อันนำไปสู่ผลลัพธ์เข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
หลักที่ 4 : 4 F การจัดหลักสูตรที่พัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการจัดหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคลซึ่งมีศักยภาพแตกต่างกัน ตามความถนัด ความสนใจ และความชอบของผู้เรียนแต่ละคน หรือเรียกว่า หลักสูตรเสริมสร้างศักยภาพของผู้เรียน (4F) โดยยึดหลัก FUN Find Focus และ Fullfillment
หลักที่ 5 : CRP – Plus การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีรูปแบบการสอนแบบ CRP ที่เหมาะสมกับรายวิชาที่มีลักษณะของรายวิชาและจุดประสงค์แตกต่างกัน ซึ่งได้แก่รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก (C) รูปแบบการเรียนการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน( R ) และรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ (P)
หลักที่ 6 : NET การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ ซึ่งเป็นทักษะการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมีขั้นตอนการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศคือการกำหนดภารกิจ การตรงจุดเข้าถึงแหล่ง การประเมินสารสนเทศ และการบูรณาการวิถีการใช้งาน
หลักที่ 7 : 3 M บทบาทของผู้เกี่ยวข้อง ผู้เกี่ยวข้องในการสร้างโอกาสการเรียนรู้มีทั้งครู โรงเรียน ครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชน ซึ่งมี 3 บทบาท ได้แก่ M1 : บทบาทของผู้ให้กำลังใจ ( Moral Supporter ) M2 : บทบาทผู้ใส่ใจกำกับ (Monitor) และ M3 : บทบาทของผู้สนับสนุนส่งเสริม (Mentor)
จากหลักสัตตศิลา ทั้ง 7 หลัก มีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณลักษณะผู้เรียนที่เป็นหัวใจและเป็นเป้าหมายสำคัญของการจัดการศึกษาที่จะต้องพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป้าหมายตามคุณลักษณะที่ต้องการ โดยระบบการบริหารจัดการศึกษาของสถานศึกษา เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนองค์ประกอบต่าง ๆ อันได้แก่ หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน ชุมชนหรือผู้เกี่ยวข้องต่าง ๆ ให้ดำเนินการไปอย่างสอดคล้องและมีประสิทธิภาพ